แซวกันหลายๆ ครั้งในหมู่ทีม TiGER iDEA ว่าเราน่าจะทำหลักสูตรพื้นฐานของคนเริ่มทำงานใหม่ๆ (อาจจะเน้นไปทางด้านไอที เพราะเราทำงานกันด้านนี้) แต่คิดไปมา จะทำจริงจังก็เยอะไป เอาเป็นว่าบันทึกไว้ขำๆ ละกัน
1. ดิ้นรน 101
การดิ้นรนขั้นพื้นฐานของคนทำงาน (โดยเฉพาะด้านไอที) คือการหาข้อมูลที่จำเป็นด้วยตัวเองได้
- ควรใช้ Search Engine ได้พอประมาณ
- ถ้าไม่รู้ศัพท์คำไหน ควรหาใน Wikipedia ได้
- ถ้าต้องไปติดต่อลูกค้า ควรหาข้อมูลบริษัทของเค้าได้ (แผนที่/เบอร์ติดต่อ/ฯลฯ)
- ถ้าเจอปัญหาต่างๆ ควรรายงานปัญหาได้ ทั้งในด้านคอมฯ และปัญหาอื่นๆ (ปัญหาคืออะไร? ทำอย่างไรจึงเกิดปัญหา? environment ขณะเกิดปัญหาคืออะไร?)
- สามารถตั้งคำถามในเว็บบอร์ดที่เกี่ยวข้องได้อย่าง “น่าตอบ” และ “สามารถตอบได้” ได้
- สามารถอ่าน Help-คู่มือ/Tutorial-วิธีใช้ ของเครื่องมือและโปรแกรมที่เกี่ยวข้องได้
2. วิจารณญาณ 101
เป็นข้อที่เกี่ยวพันกับวิชา ดิ้นรน 101 อยู่พอสมควร นั่นคือ การมีสามัญสำนึกในเรื่องพื้นฐานของการใช้ชีวิต
- เราไม่ควรให้คนอื่นทำในสิ่งที่เราเองก็ไม่ทำ หรือทำไม่ได้ (เช่น สร้างแบบฟอร์มที่แม้แต่เราก็ไม่กรอก, ตั้งคำถามที่ต่อให้รู้ก็ตอบไม่ได้ เพราะถามไม่ครบ)
- เราควรทำในสิ่งที่หากเราได้รับสิ่งนั้น เราก็จะยินดี (เช่น สร้างเนื้อหา/โค้ด/การนำเสนอ ที่คนอื่นอ่านรู้เรื่อง, ตั้งชื่อสิ่งต่างๆ มีความหมาย, เก็บงานไว้ในที่ที่ควรอยู่)
แต่คำว่า “วิจารณญาณ” เองก็กว้างขวางครอบคลุมมาก หลายเรื่องนั้น ถ้าจะให้สมบูรณ์ จะต้องใช้ทักษะระดับสูงมาก เช่น การนำเสนอเนื้อหาที่ “เข้าใจง่าย, ชัดเจน, มีเหตุผล ฯลฯ” ซึ่งเราเองก็ต้องยอมรับว่าแม้แต่ผู้หลักผู้ใหญ่ในเมืองไทยยังทำไม่ได้ ก็อย่าไปคาดหวังเด็กจบใหม่ขนาดนั้น (อ่านข้อ 2.1 ใหม่ – เราไม่ควรให้คนอื่นทำในสิ่งที่เราก็ทำไม่ได้)
3. บูลชิท 101
สังคมการทำงานของประเทศไทยนั้น ไม่เอื้อให้กับการพูดความจริงในทุกๆ เรื่อง หรืออีกนัยหนึ่ง ศัพท์ที่ใช้ทั้งหลายนั้น เป็นคนละคำกับมาตรฐานในสามัญสำนึก เช่น แม้เราจะพูดภาษาอังกฤษได้ห่วยแตก แต่เราก็กรอก resume ว่า Good ใน English Skill, ทุกๆ คนต่างบอกว่า “ฉันทำได้ทุกอย่าง เก่งหมดทุกเรื่อง” ฯลฯ ดังนั้น ผู้จะติดต่องานทั้งหลาย จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ Bull Shit 101 นี้ไว้บ้าง โดยคำนึงถึง Position หลักของเรา ว่าเรากำลังพูดอยู่กับใคร แล้วค่อยเลือกถ้อยคำที่เหมาะสมกับพฤติกรรมของฝั่งนั้นๆ เช่น
- ฝั่งลูกค้า ต้องการได้ยินคำว่า ไม่มีปัญหา หากมันจะไม่เกิดปัญหา ดังนั้น แม้จะมีปัญหา แต่เป็นปัญหาที่เราแก้ได้ เราเรียกว่า ไม่มีปัญหา
- ฝั่งผู้ผลิต/ฟรีแลนซ์ นั้น หากเราบอกเค้าว่าเป็นปัญหานิดหน่อย เค้าจะคิดว่า ไม่มีปัญหา แต่ถ้าบอกว่า เป็นปัญหาใหญ่ เค้าจึงจะคิดว่ามีปัญหา
ดังนั้น ในเหตุการณ์เดียวกัน เมื่อเกิดปัญหาที่เราเห็นว่าฝั่งผู้ผลิตของเราจะแก้ได้ เราต้องบอกลูกค้าว่า “ไม่มีปัญหา” และบอกผู้ผลิตว่า “ปัญหาใหญ่แล้วโว้ยยยยยย แก้ด่วนนะสาดดด”
ตอนนี้นึกออกเท่านี้ ใครคิดเพิ่มออก บอกด้วย กระผมไปทำงานต่อละ เดี๋ยวมันจะมี “ปัญหา!!”
ปล. เพิ่มเติมรูปภาพแห่งกระบวนการทำงานของโปรเจ็คทั้งหลาย ฮายิ่งนัก ต้นฉบับที่ ProjectCartoon.com
เพ่ิมเติม 17:17 น.
เว็บที่ทำการ์ตูนนี้ อนุญาตให้เราทำเวอร์ชั่นต่างๆ ตามใจด้วย กระผมเลยใส่ภาษาไทยเข้าไปซักหน่อย เชิญที่ Project Cartoon – Thai Version
สุดยอดครับ …. ตรงกับที่คิดไว้ตลอดครับ …. เจออย่างนี้บ่อย (และแกล้งลองของกับพวกสิ่งเหล่านี้บ่อยมากๆครับ)
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
LOL. this is what I really want to see / meet / work with in real life 🙂
ไม่ใช่คนเพิ่งเริ่มทำงาน แล้วก็ไม่ได้ทำงานสาย IT ด้วย
แต่ก็บทความนี้ก็มีประโยชน์มาก ขอบคุณครับ
คารวะด้วยนมสตอเบอรี่ 1 จอกครับ
what you miss is politic 101 krab.
ฮ่าฮ่า ไม่เลวครับ การเมือง 101 พอดีหลีกเลี่ยงบริษัทที่มีการเมืองมาตลอด เลยไม่ค่อยเจอนัก ลืมไปเรย 😛
still smile
^^
พี่เม่น เก่งจัง
เปาะแปะๆๆๆ
ขั้นตอนการทำโปรเจ็ค ฮามากๆ ^ ^
อ่านเพลินเลยครับพี่ ได้ข้อคิดดีๆเยอะเลย
เด็กเดี๋ยวนี้ต้องเรียนทำงานแล้วปิดเน็ท 101 ด้วย