ภาษานั้นกำหนดกรอบวิธีคิด และในทางกลับกัน เมื่อสร้างกรอบการคิดใหม่ๆ ได้ ก็ต้องสร้างภาษาด้วย ไม่ว่าจะหยิบยืม เปรียบเปรย หรือสร้างคำใหม่
ซึ่งในโลกไอทีนั้นมีคำศัพท์สวยๆ อยู่มากทีเดียว
Breadcrumb
เบรดครัม โดยคำศัพท์นั้นแปลว่า เศษขนมปัง ซึ่งในการออกแบบ User Interface เอามาใช้เป็น Navigation หรือข้อความแสดงลำดับขั้นของ “หน้า” ต่างๆ ดังรูป (รูปจาก คุณ Veerle) ซึ่งเปรียบเปรยกับ การโปรยขนมปังยามเดินทางเข้าป่า ของเด็กน้อยในนิทานกริม
Avatar
อาวาทาร์ หรือ อวตาร คือ การแบ่งภาคมาเกิดในโลกของเทพต่างๆ ในโลกไอทีเอามาเปรียบเปรยกับการมีตัวตนมาเกิดใหม่ในอินเตอร์เน็ท ซึ่งก็คือ หน้า icon ต่างๆ ที่เราใส่รูปแทนตัวลงไปนั่นเอง (รูปจาก เว็บทำอวตารน่ารักๆ)
Karma
กรรม คือ การกระทำ ซึ่งทางพุทธหมายถึง action ต่างๆ ไม่ว่าจะทางกาย วาจา หรือใจ ซึ่งมีทั้งดีและไม่ดี ในทางระบบฟอรัมสมัยใหม่ของโลกไอที นำแนวคิดนี้มาเพื่อให้สมาชิกทุกคนสามารถให้คะแนน “กรรม” เพื่อนสมาชิกคนอื่นๆ จากข้อความในกระทู้ต่างๆ ได้, คะแนน “กรรม” นี้ อาจเรียกว่าการโหวตความเห็น หรือ Feedback ต่างๆ เพื่อให้สมาชิกได้เห็นว่า การกระทำของตน (การตอบกระทู้) ได้ส่งผลกรรมดีหรือไม่ดีอย่างไรบ้าง และคะแนนกรรมนี้อาจนำไปตั้งค่าบางอย่างได้ เช่น ข้อความที่มีค่า “กรรม” ติดลบ ให้ไม่แสดงโดยอัตโนมัติ หรือคนที่ได้คะแนน “กรรม” ถึงระดับนึง สามารถมีสิทธิบางอย่างได้
Virus/Trojan Horse
คำว่า ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) ได้เกิดก่อน เพื่อเปรียบเปรยการทำงานของโปรแกรมไวรัส ที่คอยป่วนคอมพิวเตอร์ และทำการแพร่ตัว (ก๊อบปี้ตัวเอง) ผ่านสื่อต่างๆ ได้ ซึ่งเหมือนกับไวรัสในชีวิตจริง
ต่อมากลับมีโปรแกรมที่ไม่ได้ทำตัว “ป่วน” หรือ “ทำลายข้อมูล” หากแต่ ฝังตัวเข้ามาในระบบเพื่อคอยเก็บข้อมูลต่างๆ เช่น การกดรหัสผ่าน, ข้อมูลบัตรเครดิตในเครื่อง ฯลฯ แล้วส่งกลับไปให้แฮกเกอร์ใช้งาน ซึ่งการทำตัวแบบนี้ เรียกว่า Trojan Horse หรือม้าโทรจัน ซึ่งจะมีลักษณะเดียวกับตอนที่ทัพกรีกใช้ม้าไม้ที่ชื่อ ม้าโทรจัน บรรจุทหารเข้าไป ไปวางหน้าเมืองทรอยที่ตีมา 10 ปีไม่แตกซักที แล้วทำท่าถอยทัพ เมื่อเมืองทรอยเก็บม้าเข้าไปในเมือง ตอนดึกทหารออกมาจากม้า แล้วเปิดประตูให้ทัพกรีกไปตี ก็ทำให้เมืองทรอยย่อยยับไป (สงครามนี้เรียกว่า Trojan War)
Divide and conquer
ดีไวด์ แอนด์ คองเคอร์ หรือ แบ่งแยกและปกครอง นั้น เป็นยุทธวิธีตั้งแต่โบราณของการสงครามและการเมืองทั้งตะวันออกและตะวันตก (Wikipedia ละเอียดยิบ) หลักๆ ก็คือ แบ่งกลุ่มคนให้เป็นหน่วยย่อย จะให้ทะเลาะกัน หรือไม่วางใจกันอย่างไรก็แล้วแต่ แล้วค่อยๆ ครอบครองและปกครองทั้งหมด
ในการเขียนโปรแกรม Divide and conquer algorithm คือกระบวนการแบ่งปัญหาใหญ่ ให้เป็นปัญหาย่อยๆ แล้วเขียนโปรแกรมวนลูป แก้หน่วยย่อยทีละรูปแบบ เมื่อมาบรรจบกันก็จะแก้ปัญหาใหญ่ได้
ผมเรียนเรื่องนี้ครั้งแรกตอนปี 2 จำได้ว่า ผมรู้สึกว่ามันเป็นการเปรียบเปรยที่ยอดเยี่ยมมาก และทำให้ผมเริ่มสร้างสมการอธิบายกระบวนการคิดตัวเอง เพื่ออธิบายคนอื่นว่า ทำไม ผมจึงเป็นพวกทำอะไรตามใจชอบ, ไม่ถือสาอะไร, ไม่มีหัวใจ, และไม่เห็นว่าอะไรเป็นปัญหา
นั่นคือ ผมแบ่งเริ่มราวที่ชีวิตต้องเผชิญและแก้ไขทั้งหลายออกเป็น 2 แบบคือ เป็นปัญหา กับเป็น กฎ
สิ่งที่มีทางแก้ไขได้ในเร็ววัน เรียกว่า “ปัญหา” สิ่งที่ยังแก้ไขไม่ได้ในเร็ววัน เรียกว่า “กฎ”
หากเราคิดว่ากฎต่างๆ นั้นไม่ถูกต้อง เราก็หาทางแก้ไข หากมีทางแก้ไข มันจึงเรียกว่า “ปัญหา” หากไม่มีทางแก้ไข มันก็กลับไปเรียกว่า “กฏ”
เช่น หากเราขับรถแล้วเจอตำรวจเรียก เราต้องจ่ายเงิน 100 บาท สำหรับประเทศไทย อันนี้เป็นกฏ หากผมรู้สึกว่ามันไม่ถูกต้อง ผมก็ควรหาทางแก้ซะ เมื่อผมยังแก้ไม่ได้ ผมก็ควรยอมรับกฎนี้ แล้วจ่ายเงินไปด้วยความเบิกบาน
หรือหากเราเห็นว่า ผู้หญิงบางคนนั้นเอาแต่ใจและไม่มีเหตุผล ถ้าเรารู้สึกว่าเป็น “ปัญหา” เราก็ควรหาทางแก้ซะ หากเราเห็นว่าแก้ไม่ได้ เราก็ควรยอมรับว่านี่เป็น “กฎ” นั่นคือ เค้าจะต้องเอาแต่ใจและไม่มีเหตุผล หากยอมรับกฎนี้ไม่ได้ ก็วนลูปกลับไป (ซึ่งสุดท้าย เราก็จะยอมรับว่ามันเป็นกฎ และรับมือด้วยความเบิกบาน)
และทุกปัญหาในชีวิตของผม ก็ถูก divide (แบ่ง) ออกเป็น ปัญหา และ กฎ เมื่อตัดสินว่าเป็น ปัญหา ผมก็หาทางแก้ (conquer) หากแก้ไม่ได้ มันก็จะถูกปรับสถานะเป็น กฎ และผมก็ยอมรับมันซะ (ก็คือ conquer อยู่ดี) จนวันนึง อาจจะอีก 10 ปีถัดไป เมื่อเห็นว่ามีทางแก้ ผมจึงเรียกมันว่า “ปัญหา” และก็แก้มัน
divide and conquer จึงเป็นคำศัพท์ประทับใจอันยืนยาวของผม และพลอยทำให้สำหรับผม มันคือการแบ่งเรื่องราวที่ต้องเผชิญ ออกเป็น ปัญหา และ กฎ
ยืดยาวมาพอควร ขอพักแค่นี้ดีกว่า หากท่านมีศัพท์อื่นๆ อีก ขอเชิญชี้แนะนะขอรับ
เพิ่งเข้าใจความหมายคำว่า Breadcrumb งงมาตั้งนาน อิอิ
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ครับผม
อีกคำที่เพิ่งนึกออก ในระยะนี้ชอบมากทีเดียว เอาไว้เตือนใจตนเองและคนรอบข้างได้ดียิ่ง นั่นคือคำว่า
Eat you own dog food
Wikipedia ละเอียดยิบเช่นเคย สรุปว่า หากคุณทำอาหารหมา คุณก็ควรจะกินมันให้ได้
ถ้าคุณผลิตสินค้า/บริการใดๆ ก็ตาม คุณก็ควรจะต้องใช้มันในชีวิตของคุณเอง เพราะถ้าแม้แต่คุณเองยังไม่ใช้ ก็อย่าไปหวังให้ใครมาใช้
สาวกแม็คชอบข่าวกระแนะกระแหนอันนึงว่า บ้านไฮเทคของบิลเกต ไม่ได้รันด้วย Windows ปกติ, พนักงานไมโครซอฟท์ไม่เชียนบล็อกบน MSN, ในขณะที่ตอนที่ท่านสดีฟผ่าตัด เค้าส่งอีเมล์มาถึงพนักงาน และลงท้ายว่ามาจากเครื่อง Powerbook 17″ ที่เพิ่งเปิดตัวเร็วๆ นั้น
อืม เม่นเขียนโพสอันยอดเยี่ยมนี้ในวันที่ 14 กพ…
วันที่ทุกคนๆต่างมีกิจกรรมแห่งชาติกันนอกบ้าน
ช่างตอกย้ำโพส “พรมแดนแห่งความรัก” ยิ่งนัก
Avatar สงสัยมานานแหละ 555 ได้รูักันสักที 555 ขอบคุณพี่เม่นครับ
entry นี้อ่านสนุกค่ะ
Divide and conquer เป็นวิธีที่การมองที่น่าสนใจ
เหมือนกันไหมว่า…
“ผู้หญิงน่ะเข้าใจยาก ก็ไม่ต้องไปเข้าใจหมดก็ได้ เอาเป็นว่ายอมรับละกัน”
😀
Avatar มันมาอย่างงั้นจริงๆหรอครับ โอ้วว O_o!
เจ๋งดีครับ ชอบความรู้แบบนี้ อ่านแล้วสนุกดี
พึ่งรู้ครับว่า Avatar คือ อวตาร Karma คือ กรรม
ไม่เหนมีไรเลย