มาสะดุดคำร่วมสมัยนี้ครั้่งแรก ตอนที่อ่านมติชนสุดสัปดาห์เมื่อราวเดือนที่ผ่านมา คุณพิษณุ นิลกลัด กล่าวชมนักกีฬาหญิงคนหนึ่งว่า เธอน่ารัก ส่วนหนึ่งเพราะ “เธอไม่ได้พูดคำว่า อะไรอย่างเงี้ยยย”
หากจะโทษใครซักคน (กระผมเป็นคนไทยนะ คนไทยย่อมไม่โทษตัวเอง โทษคนอื่นดีก่า) คงต้องโทษ Google นั่นแหละ ที่ทำให้เกิดวัฒนธรรม “อะไรอย่างเงี้ยยย” ขึ้นมา เพราะการพูดคำว่า “อะไรอย่างเงี้ยยย” ย่อมหมายถึง…
ข้าพเจ้ารู้ดี ว่าข้าพเจ้าไม่ได้รู้เรื่องอะไรนักหรอก (google รู้เยอะกว่า) แต่ข้าพเจ้าก็ขี้เกียจเกินกว่าจะรู้จริง ดังนั้น ท่านก็ฟัง แล้วคิดว่าข้าพเจ้ารู้จริง แต่แกล้งพูดให้ง่ายเพื่อให้เข้าใจง่ายละกัน แต่จริงๆ ข้าพเจ้าก็พอรู้อยู่บ้างนะ
อะไรอย่างเงี้ยยย…
วันหนึ่ง หากวัฒนธรรม “อะไรอย่างเงี้ยยย” ระบาดไปทั่ว แม้แต่เรื่องที่ควร “รู้จริง” ก็อาจจะไม่รู้จริงไปด้วย เช่น
ครู: “นักเรียน ข้อนี้ ตอบข้อ 2 นะ อะไรอย่างนี้”
ตำรวจ: “คุณฝ่าไฟแดง ผิดกฎหมาย ต้องเสียค่าปรับ 400 บาท ประมาณนี้นะครับ”
ศาล: “เห็นได้ชัดว่า จำเลยผิดจริงประมาณนี้ จำเลยควรจะยกเลิกการชุมนุม อะไรอย่างเนี้ยยยย”
นักข่าว: “วันนี้ฝนตกหนักมาก ที่ภาคใต้ ทำนองนั้น มีรายงานว่า มีถนนเสียหายหลายสาย ประมาณนั้นนนน”
ผู้ชาย: “ผมเป็นผู้ชาย อะไรอย่างเงี้ยยย”
อ่านดูพอเข้าใจนะครับ แต่พอมาจบตรงยกตัวอย่างเลยชอบเลย น่ารักดี อะไรอย่างเงี๊ยะ
(ฮา) โดนครับโดน ..อะไรอย่างเงี้ยยย !!! 🙂
เป็นคำแสดงความไม่มั่นใจสินะครับ
ซึ่งจริงๆ ผมก็ใช้บ่อยมากด้วย ^_^”
ผมว่ามันเกิดหลายอย่างนะนะ
1. วัฒนธรรมไม่อยากผิด กลัวคนหาว่ารู้ไม่เยอะ (บางทีก็ไม่เยอะจริงๆ)เลยพูดให้คลุมเครือเข้าไว้ ผิดถูกโทษคนตีความ
เลือกคำที่ใช้ก็มาตามสังคม เช่น วัยรุ่น วัยเรา(??) ใช้ “ประมาณเนี้ย”
นักวิชาการใช้ “ขอเรียนอย่างนี้” (ถ้ากูไม่ให้มึงจะเรียนอีกอย่างรึ)
ซึ่งไอ้ความกลัวผิดนี่พาไปสู่การหลอกลวงโดยใช้ logic ปนเปื้อนได้ด้วย กล่าวคือพูดสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วผสมเข้าไป ดักคนตีความ
“ชุดนี้เราถ่ายมิวสิกในยุโรปทุกเพลง ยกเว้นเพลงที่ถ่ายทำในไทย” ซึ่ง 10 เพลงจะถ่ายในยุโรปเพลงเดียวในไทย 9 เพลงก็ไม่ผิด (จริงๆถ่ายแม่งในไทยหมดเลยก็ไม่ผิด)
2. ในการขอร้อง จะบ่งบอกความไม่แน่ใจ เพื่อแสดงว่าแคร์ หรือไม่อยากรบกวน (ทั้งๆที่ก็รบกวนนั่นแหละ)
“คุณลูกค้าคะ ขอเบอร์โทรศัพท์นิดนึงค่ะ” จะเอาไปเล่นหวยรึไง
comment ยาวไปแฮะ เอาไป 2 ข้อพอ
มันเป็นการติดจากพิธีกรครับเกมโชว์ครับ
เมื่อหลายปีก่อน ดวงตา ตุคะมณี เธอคนนี้โดนด่าเรื่องพูดว่า “มันเป็นอะไรที่” มาก ๆ แต่เธอยืนยันนั่งยันที่จะพูดคำนี้ เพราะจงใจพูดประโยคนี้
ตอนหลังช่วงนั้นคนติดประโยคนี้กันทั้งบ้านทั้งเมือง พูดอะไรไม่ออกก็ “มันเป็นอะไรที่”
ป.ล. ถ้าย้อนกลับไปดูสี่ทุ่ม square (เขียน square ภาษาไทยไม่ถูกแล้ว)
โอ้ว มันเป็นอะไรที่มาเป็นอย่างนี้นี่เอง kind of some thing like that.
สาดดดดดดดดดดดดด ด่าตรู ;-<
ชอบนะครับ ตลกและสนุก
คิดลึกละเอียดอ่อนดีครับ
อารายอย่างเงี๊ยยย พูดบ่อยค่ะ 555++
เอ้อ…..เป็นอะไรอย่างนี้จริงๆด้วยยยย
อย่างเนี่ยยยย_^_