อย่ามัวแต่อ่านหนังสือ ให้อ่านใจ

ขึ้นต้นบันทึก ด้วยคำสอนจากพระวัดป่าที่เคยบันทึกไว้หลายปีก่อน คงจะเป็นเพราะช่วงนี้อ่าน Feed เยอะมากไปหน่อย มีข่าวสารมากมายที่กำลังปรากฏขึ้นในโลก แล้วเราก็ดันมัวแต่วิ่งตามมัน

RSS & ATOM FEED

น้องเอฟ ขอให้เขียนถึงเทคโนโลยีนี้หลายครั้ง เพราะขี้เกียจอธิบายเพื่อน (อ้าว .. ไอ้เอฟ งั้นเมิงน่าจะเขียนเองนะ) จริงอยู่ ที่สาระนุกรมเสรีก็มี บทความเรื่อง RSS กระนั้นก็อ่านไม่่ง่ายนัก แต่แล้วท่องเน็ทไปเรื่อย ก็พบว่า Google Reader Tour อธิบายได้เรียบง่ายดี

โดยปกติ ในยุคเว็บ 1.0 เว็บนั้นเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ เราอยากรู้เรื่องอะไร ก็ไปเปิดหนังสือหรือเว็บแต่ละเว็บเอา

แต่เนื่องจากเว็บมีการเพิ่มเติมข้อมูลตลอดเวลา เหมือนกับนิตยสารที่ออกใหม่ได้ทุกวินาที การที่เราจะเข้าไปที่เว็บแต่ละเว็บแล้วไล่อ่านที่อัพเดท อาจจะไม่เหมาะนัก โดยเฉพาะถ้าเรามีเว็บที่ติดตามอ่านอยู่ซัก 100 เว็บ 1,000 เว็บ

ในยุคเว็บ 2.0 จึงได้มีเทคโนโลยีที่เรียกว่า RSS Feed (Really Simple Syndication) ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของเว็บแต่ละเว็บ (เว็บส่วนมากในปัจจุบันมักจะมี) ซึ่งระบบนี้จะคอยส่งข้อมูลเฉพาะที่อัพเดทมาให้คนที่สมัคร ทีมของกูเกิลได้เปรียบเทียบว่า เหมือนกับเป็นระบบอีเมล์ที่เว็บทุกเว็บจะส่งเมล์อัพเดทมาให้เรา สิ่งที่เราต้องทำก็คือ เข้าไปที่โปรแกรมอ่าน Feed อย่าง Google Reader หรือ Bloglines หรือโปรแกรมบนเครื่อง อย่าง Firefox ฯลฯ แล้วใส่ชื่อเว็บที่เราต้องการทราบความเคลื่อนไหวเข้าไป (เรียกว่า Add feed หรือ subscribe) คราวต่อไปเวลาเว็บอัพเดท เราก็ไม่ต้องเข้าไปเช็คทีละเว็บ แต่เข้าไปที่โปรแกรมอ่าน Feed ที่เดียว มันจะบอกหมดว่า เว็บไหน อัพเดทกี่บทความ ซึ่งเมื่อเราอ่าน มันก็จะติ๊กออกให้โดยอัตโนมัติ เหมือนกับการอ่านอีเมล์

เพิ่มเติม: ลืมไปเลยว่าเคยอ่าน RSS in plain English ตอนนี้มี Subtitle เป็นภาษาไทยแล้ว ขอบคุณความเอื้อเฟื้อของโลก Creative Commonds จริงๆ, เชิญที่ Blog ของ TiGER iDEA

อย่างไรก็ตาม การไล่ตามสิ่งที่สร้างสรรค์ ก็จะบ่มเพาะความสร้างสรรค์, การเฝ้าดูและเสพย์ติดความไร้แก่นสาร เรื่องน้ำเน่า ความเศร้า ความหดหู่ ชีวิตก็อาจจะคล้อยตามไปกับสิ่งเหล่านั้นด้วย

มี content ดีๆ ปนอยู่กับ content แย่ๆอยู่มากมายในโลกนี้ ก็นับว่าน่ากลัวเหมือนกัน สำหรับการมีชีวิตในยุคต่อไป เพราะการติดตามอ่านข่าวสารจำนวนมาก อาจทำให้ผู้คนลืมอ่านความคิดตนเอง ว่าเป็นอย่างไร หรือกลายเป็นอะไรไปแล้ว

บันทึกถ้อยคำอันงดงามจากหนังสือที่ท่าน ติช นัท ฮันห์ เขียนเมื่อ 30 กว่าปีก่อน “ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ” (แปลโดย พระประชา ปสันนธัมโม) กล่าวว่า

คริสเต็นเคยอ่านพบว่า ที่แคนาดามีคนลองเล่นเพลงของโมสาร์ทให้ต้นไม้ที่ปลูกไว้ฟังในตอนกลางคืน ปรากฏว่า ต้นไม้เหล่านั้นโดเร็วกว่าธรรมดา และดอกของมันจะหันเอนมาตามทิศทางของต้นเสียง ในอีกแห่งหนึ่ง มีการทดลองเล่นเพลงของโมสาร์ททุกวัน ในนาข้าวสาลีและข้าวฟ่าง ปรากฏว่าข้าวสาลีและข้าวฟ่างในนาเหล่านี้โตเร็วกว่าในไร่อื่น

คำพูดของคริสเต็นทำให้ครูนึกถึงว่า หากมีใครเอาต้นไม้หรือดอกไม้ปลูกไว้ในห้องประชุม ซึ่งมีการถกเถียงเกรี้ยวกราดกันด้วยคำพูดที่แสดงความไม่พอใจอยู่เสมอ ต้นไม้เหล่านั้นอาจจะหยุดเจริญเติบโตได้ หากมีการประชุมในห้องนั้นทุกๆวัน

ครูนึกถึงสวนแห่งหนึ่ง ซึ่งได้รับการดูแลจากพระซึ่งดำรงสติมั่นอยู่ตลอดเวลา ปรากฏว่าต้นไม้ดอกไม้ในสวนของท่านเขียวขจีสดชื่น เพราะได้รับการทำนุบำรุงจากความสงบและความสุขสดชื่นที่แผ่ออกไปจากสติสัมปชัญญะของท่านนั่นเอง คนโบราณกล่าวไว้ว่า “เมื่อมีมหาบุรุษถือกำเนิดขึ้นในโลก น้ำในแม่น้ำลำคลองจะใสสะอาดขึ้น และต้นไม้ใบหญ้าจะเขียวสดขึ้น” ครูคิดว่าเราควรจะมีการฟังเพลงหรือนั่งสงบตามลมหายใจสักครู่หนึ่ง ก่อนที่จะเริ่มปรึกษาหารือเรื่องงานการ เธอเห็นด้วยไหม?

ความคิดเห็น

  1. N'Thep พูดว่า:

    ลึกซึ้งครับพี่

    คงต้องหยุดคิด ก่อนจะวิ่งตามโลกจนสับสนในตัวเอง

  2. โอ๊สง่ะ พูดว่า:

    เดี๋ยวมาอ่านอีกที…ให้ลึกซึ้ง

    ……

    อ่านใจ อ่ะ ^^”

  3. pat พูดว่า:

    เพื่อนๆผมยังไม่รู้จัก feed กันเลยครับ 🙂
    แต่หลายคนได้รับข่าวสารต่อเนื่องทุกวัน
    จากหนังสือดาราที่เซเว่นน่ะ

    ส่วนเรื่องอ่านความคิดตัวเอง ผมว่าเคส
    ของ Agency หรือ outsource ที่เข้าไป
    เสนองานบริษัทใหญ่ๆทุกวันๆ จน
    คนในบริษัทเหล่านั้นอยู่ในภาวะ
    “รอป้อน” อย่างเดียว และไม่เกิดภาวะ
    เรียนรู้เลยนี่ก็น่ากลัวเหมือนกันครับ
    (ที่เม่นคุยกับผมเมื่อวันก่อน)
    โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจนี่ตัวดีเลย

  4. jicktui พูดว่า:

    สวัสดีคะ ไม่รู้จักเจ้าของเว็บหรอกคะ แต่พอดี search เจอประวัติ Steve Jobs เลยเข้ามาอ่านบทความที่พี่เขียนไว้
    น่าคิดตามคะ ขอบคุณที่เขียนไว้ให้อ่านคะ