ชีวิตนั้นคือการเดินทางโดยตลอด

11 กรกฎาคม 2003 03:06 น. บันทึก

ราวกับไพ่ในมือนั้นกำลังถูกเปิดออกมาเรื่อยๆ
และเดิมพันก็สูงขึ้นเรื่อยๆ
จะเลือกหมอบไหม? หรือจะพนันต่อ

โอกาสจะได้งานนั้นน้อยลง ค่าเรียนเทอมหน้าเพิ่มขึ้นอีกเกือบพันเหรียญ ในขณะที่แม่ก็โทรมาชวนไปอยู่เรื่อยๆ โดยบอกว่า ที่ผมกำลังจ่ายอยู่นั้นไม่คุ้มค่า (รถมือสองที่ฟลอริด้าพันกว่าเหรียญ เท่ากับทำงานขายแรงงานประมาณ 1-2 สัปดาห์, ค่าเช่าบ้านที่ฟลอริด้าถูกกว่าในบอสตัน 7-8 เท่า) แม่บอกว่าจะซื้อรถให้ ออกค่าบ้านให้ และที่อาจจะทำให้กระผมต้องย้ายไปอยู่แผนก-ไม่ช่วยตัวเอง-แบบไอ้ชาร์ดก็คือ แม่อาจจะหาคนอเมริกันแต่งงานให้ด้วย

ก็เลยคงบินไปฟลอริด้าวันที่ 15 นี้แล้วละขอรับ

ที่อยู่ใหม่

M r . C h a k k r i s n C h r i s T a l a w a t
8 1 7
2 2 n d S T. A P T # 4
V e r o B e a c h F L ,
U. S. A. 3 2 9 6 0

M o b i l e ( ข อ ง แ ม่ ก ร ะ ผ ม ) 7 7 2 – 7 1 3 – 3 7 1 3

คงไปเรียนกราฟฟิคดีไซน์ (เพราะหลักสูตรวิชาชีพที่นู่นเป็นทำนองเรียนแล้วก็ให้งานด้วย) พร้อมกับทำงานร้านอาหารประทังชีวิต+เก็บเงินนิดๆหน่อยๆ (ที่ไม่คิดทำเพื่อเปิดร้านอาหารเลย เพราะรู้สึกว่านิสัยด้านความละเอียดรอบคอบของกระผมยังไม่มากพอ ถ้ามีหุ้นส่วนที่ช่วยเหลือด้านนี้ได้คงค่อยคิดอีกที) ระหว่างนั้นก็ลงเรียนพื้นฐานด้านบัญชี, ลง Sound Engineer และทำเพลงผ่านเน็ทกับเพื่อนๆทั้งหลาย (เว็บ SongRoad.com ยังไม่เสร็จนะขอรับ ใจเย็นๆ) มีครอบครัว รอวันได้ใบเขียว หาทางทำธุรกิจเล็กๆของตัวเอง (ไม่ที่เมืองนอกก็เมืองไทย) แล้วก็อ้วนตาย (เพราะกระผมคงไม่ได้แก่ตายแน่ ฮ่าฮ่า)

แต่นั่นมันเรื่องของอนาคต ใครจะรู้ว่าจะเป็นอย่างไร?
อยากรวยยังไม่ง่ายเลย แล้วถ้าอยากมีความสุข มันจะง่ายได้อย่างไรเล่า?

เพื่อนบางคนถามว่า ไม่เรียนทางด้าน จัดการฐานข้อมูล ออกแบบฐานข้อมูล Oracle อะไรประมาณนั้น หรือ JAVA ให้เจ๋งๆ แล้ว กลับมาทำงานที่ไทย เพราะประเทศไทย ต้องการบุคลากรทางด้านนี้อีกเยอะเลย เราไม่เข้าใจว่า การทำงานอยู่ที่โน่นมันจะให้ผลตอบแทนดีกว่าจริงเหรอ?

เวลาอ่านเว็บบอร์ดที่มีการด่าคนทำงานเมืองนอกว่าขายชาติ+สมองไหล กระผมมักไม่โต้แย้งหรือตอบ เพราะโลกมันซับซ้อนเหลือเกิน และผมก็ไม่เคยเรียบเรียงคำตอบจริงๆจังๆเสียที แต่เพื่อนถามก็เลยตอบไปหน่อย หากงงก็ขออภัย


เรื่อง การกลับมาที่ไทยแล้วพัฒนาประเทศนั้น ไม่สามารถทำได้ง่ายๆหรอก

1. คำว่าต้องการบุคลากรอีกเยอะนั้น จริงๆ สังคมเราก็ต้องการทุกอย่างแหละ และถ้าองค์ประกอบของผลตอบแทนเหมาะสม เราก็จะได้คนเหล่านั้นมาแน่นอน เช่น เราขาดแคลนครู เราขาดแคลนตำรวจ เราขาดแคลนผู้พิพากษา เราขาดแคลนวิศวกร เราขาดแคลนคนดี ฯลฯ แต่เมื่อเรายอมรับระบบนับถือเงิน เราก็ย่อมไม่ขาดแคลนนักธุรกิจ … และแน่นอน เราก็ไม่ได้ขาดแคลนบุคลากรด้านไอทีหรอก แต่เราไม่จ่ายเค้าดีพอ เค้าก็เลยไม่ทำ หรือไม่เรียนให้มันลึกซึ้ง (จ่ายไม่ดีพอ เพราะเราเอางบประมาณมาจ่ายให้ผู้บริหาร หรือคอรัปชั่น)

2. จากข้อ 1 นั้น เราคิดว่าเป็นเรื่องค่อนข้างไกลตัวเรามาก เราไม่อยู่ในคนประเภท”บุคลากร”แบบนั้น เพราะเราจะเป็นกำลังผลิตที่ดีไม่ได้หรอก เนื่องจากเราไม่เชื่อในการพัฒนาประเทศด้วยการเร่งการผลิตให้ทันๆชาวบ้านเขา เราไม่เชื่อในระบบทุนนัก (แม้จะต้องยอมรับ และหาทางอยู่กับมัน) ดังนั้นในทรรศนะของเรา การพัฒนาประเทศแบบที่กำลังทำอยู่ ไม่ได้ทำให้คนมีความสุข และหากจะทำแบบอื่น บอกได้เลยว่ายังไม่เห็นทาง ขนาดจีนยังต้องโดนบีบให้เล่นในเกมของทุนเลย มันไม่มีระบบกระแสหลักอะไรทำให้คนมีความสุขแล้วล่ะเราว่า หากจะมี ก็มีแต่ระบบนอกกระแส คือเชื่อในความแตกต่าง และดำเนินการพัฒนาในส่วนเล็กๆในคอนเซ็ปต่างๆกัน (พุทธศาสนาเป็นตัวอย่างหนึ่ง) – ซึ่งไม่ค่อยมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในความหมายของการพัฒนาตามแผนเศรษฐกิจอะไรนี่หรอก

ดังนั้น ด้วยความเชื่อนี้ เราจึงว่า การพัฒนาประเทศ ไม่ได้ทำให้คนอื่นมีความสุข และไม่ได้ทำให้เรามีความสุข ดังนั้นเราต้องหาลู่ทางอื่น เช่น ไปอาศัยอยู่หรือสร้าง-สังคมเล็กๆ (ซึ่งไม่จำเป็นต้องอยู่ในระบบหรือสถานที่เดียวกันก็ได้ อาจจะเป็นแค่กลุ่มคนที่ชอบอะไรเหมือนๆกัน) ที่มีความสุข ซึ่งแน่นอน ก่อนจะถึงขั้นนั้น ก็ต้องมีเงินซักนิดหน่อย ไม่ให้ลำบาก ไม่ให้จน ไม่งั้นทำงานอะไร ก็ต้องคอรับชั่นและตามน้ำ… ถ้าอยู่ทำงานหาเงินเมืองไทย ก็คือการเอาเงินคนไทยมาใส่กระเป๋า (ซึ่งอาจจะได้มาด้วยการหลอกคนจน หรือเอาเปรียบคนโง่)… ถ้าอยู่เมืองนอก ก็เอาเงินคนฝรั่งมาใส่กระเป๋า (แม้จริงๆมันก็มาจากการเอาเปรียบคนอื่นอยู่ดีนั่นแหละ.. นี่มัน Globalization แล้ว เงินที่ได้จากฝรั่งมา มันก็เป็นเงินที่ฝรั่งมันได้จากโรงงาน sweatshop (โรงงานที่เอาเปรียบแรงงาน) ที่ไปตั้งในประเทศจนๆ ฯลฯ แต่ยังไงเราก็เลือกมาหาเงินเมืองนอกดีกว่า ข้อดีง่ายๆก็คือ ขายแรงงานก็ได้เงินเยอะ

ดังนั้น หากมีการประนามเรื่องสมองไหล และ การหาที่ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า เราก็ยอมรับได้โดยดุษฎี แม้ว่าเรื่องเหล่านี้ไม่เป็นเรื่องที่เรานำมาให้คุณค่าเลย … สถานการณ์ปัจจุบันก็คือ เราเป็นแค่เสี้ยวธุลีหนึ่งของกลไกที่เราไม่มีอำนาจทำอะไร เราไม่ใช่คนที่พูดว่ามาเปลี่ยนแปลงกันเถอะแล้วก็ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนแปลงยังไง (คือฝันแต่ไม่ทำ) เรามองเห็นว่ายาก และก็ยอมรับแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ การดิ้นรนเพื่อจะหาทางออกเล็กๆแบบนึงเท่านั้นเอง ซึ่งตั้งแต่เริ่มต้นก็คือ ต้องยอมรับการมีอยู่ของระบบใหญ่ และไม่พยายามบังคับให้ทุกคนคิดแบบเรา

ความคิดกระจัดกระจาย เราคิดเรื่องพวกนี้คนเดียวจนชิน จนไม่เคยได้เรียบเรียงเป็นระบบเพื่ออธิบายหรือโต้แย้งกับใคร เราเลยมักจะแค่บอกว่า มาหาเงินหาลู่ทางที่เมืองนอก มันเข้าใจง่ายกว่าตั้งเยอะ ว่าไหม?

บ้านใหม่ที่จะไปอยู่ยังไม่มีโทรศัพท์ หมายความว่านับจากนี้ไปอีกหลายสัปดาห์กระผมคงจะไม่ได้เข้าเน็ท

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน

เหตุการณ์ในร้านอาหาร

ลูกค้า “เอ่อ ยู ไอ้นี่เรียกว่าอะไรน่ะ ไอกินแล้วมันอร่อยดี” ว่าแล้วลูกค้าฝรั่งคนหนึ่งก็ชี้ไปที่แตงชนิดหนึ่งในจานอาหาร
เด็กเสริฟคริส “แหะ แหะ เดี๋ยวถามหัวหน้าให้นะขอรับ” ว่าแล้วก็ตะโกนถามน้าที่ดูแลร้านเป็นภาษาไทย
(แน่นอน วิธีนี้จะทำให้ฝรั่งเค้าฟังไม่ออก – แต่ดูท่าน้าจะไม่ค่อยได้ยิน เพราะทำหน้าแปลกๆ กระผมเลยต้องถามไปตั้งสองครั้งนะน่ะ)

“เอ่อ … น้าครับ น้าครับ ไอ้ฟักเนี่ย ภาษาอังกฤษเค้าเรียกว่าอะไรนะครับ …”

”…ฟักเนี่ย…”